"พิธีทำบุญบ้าน"
<<๑. การจัดสถานที่ทำบุญ
๑.๑ โต๊ะหมู่บูชา
- ตั้งไว้ด้านขวาของอาสน์สงฆ์ สูงกว่าอาสน์สงฆ์พอสมควรหันหน้าไปทางด้านทิศตะวันออก ทิศเหนือหรือทิศใต้ก็ได้ ไม่นิยมตั้งหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศตะวันตก (ดูความเหมาะสมของสถานที่)
- โต๊ะหมู่บูชา ประกอบด้วยสิ่งสำคัญอย่างน้อย คือ
๑.๑.๑ พระพุทธรูป ๑ องค์
๑.๑.๒ แจกัน ๑ คู่ พร้อมดอกไม้ประดับ
๑.๑.๓ กระถางธูป ๑ ใบ พร้อมธูปหอม ๓ ดอก
๑.๑.๔ เชิงเทียน ๑ คู่ พร้อมเทียน ๒ เล่ม
๑.๒ อาสน์สงฆ์
- จัดตั้งไว้ด้านซ้ายโต๊ะหมู่บูชา แยกเป็นเอกเทศต่างหากจากที่นั่งฆราวาส ประกอบด้วยเครื่องรับรอง คือ
๑.๒.๑ อาสนะเท่าจำนวนพระสงฆ์
๑.๒.๒ กระโถนเท่าจำนวนพระสงฆ์
๑.๒.๓ ภาชนะใส่น้ำเท่าจำนวนพระสงฆ์
- เครื่องรับรองดังกล่าว ตั้งไว้ด้านขวามือของพระสงฆ์ โดยตั้งกระโถนไว้ด้านในสุด ถัดออกมาเป็นภาชนะใส่น้ำ
๑.๓ ที่นั่งเจ้าภาพและผู้จัดงาน
- จัดไว้ด้านหน้าของอาสน์สงฆ์ โดยแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากอาสน์สงฆ์
- ถ้าเป็นอันเดียวกับอาสน์สงฆ์ให้ปูเสื่อหรือพรมบนอาสน์สงฆ์ทับผืนที่เป็นที่นั่งสำหรับ
ฆราวาสโดยปูทับกันออกมาตามลำดับ แล้วปูพรมเล็กสำหรับพระสงฆ์แต่ละรูปอีกเพื่อให้สูงกว่าที่นั่ง
เจ้าภาพ
๑.๔ ภาชนะน้ำมนต์
- จัดทำเฉพาะพิธีทำบุญมงคลทุกชนิด โดยตั้งไว้ข้างโต๊ะหมู่บูชา ด้านขวาของประธานสงฆ์
๑.๕ เทียนน้ำมนต์
- ใช้เทียนขี้ผึ้งแท้ น้ำหนัก ๑ บาทขึ้นไป โดยใช้ชนิดไส้ใหญ่ เพื่อป้องกันมิให้ดับง่าย
๒. การนิมนต์พระสงฆ์
๒.๑ พิธีทำบุญงานมงคล อย่างน้อยไม่ต่ำกว่า ๕ รูป
๒.๒ วิธีการนิมนต์พระสงฆ์
- พิธีที่เป็นทางราชการ นิมนต์เป็นลายลักษณ์อักษร
- พิธีทำบุญส่วนตัว นิยมไปนิมนต์ด้วยวาจาด้วยตนเอง
๒.๗ ข้อควรระวัง
- อย่านิมนต์ออกชื่ออาหาร เช่น นิมนต์ไปฉันขนมจีน เป็นต้น เพราะพระผิดวินัยบัญญัติ
- นิมนต์แต่เพียงว่า “นิมนต์รับบิณฑบาต รับภิกษา” หรือ “นิมนต์ฉันเช้า ฉันเพล” เป็นต้น
๓. การอาราธนาสำหรับพิธีกร
- เมื่อเจ้าภาพ หรือประธานในพิธี จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว พิธีกรเริ่มกล่าวคำ
บูชาพระรัตนตรัยและคำอาราธนาศีล
- เมื่อรับศีลเสร็จแล้ว พิธีกรจะอาราธนาพระปริตรต่อไป หลังจากนั้นพระสงฆ์จะสวดเจริญ
พระพุทธมนต์จนจบ
|